บทที่ 2 เครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดเล็ก

บทที่ 2 เครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดเล็ก

เรามาเรียนรู้และดูกันว่ามีอะไรบ้าง?

งานระบบเสียงPAในบูธขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น งานแถลงข่าว งานพูดประชาสัมพันธ์ งานเปิดตัวสินค้า หรืองานเปิดเพลง ในบางครั้งอาจจะแค่เพียงลำโพงขนาดไม่ใหญ่ไม่เกิน 10-12 นิ้ว หรือบางงานเราอาจเห็นแค่ขนาด 8 นิ้ว เน้นงบประมาณไม่มากในขณะเดียวกันได้ความคล่องตัวในการจัดการติดตั้งระบบและการขนย้ายเคลื่อนที่ได้เร็วเป็นหลัก

ผมให้นิยามว่าเป็น “เครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดเล็ก” ก็แล้วกันเพื่อความเข้าใจง่ายๆในการศึกษาบทเรียนนี้ นั่นอาจจะหมายถึง คนทำงาน คนขับรถ Sound Man , Sound Engineer ดูแลควบคุมเครื่องก็คือคนๆเดียวกันนั่นเอง

ชุดเครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดเล็กแบบนี้จึงต้องประกอบไปด้วย

เครื่องผสมเสียง หรือ Mixer ขนาดเล็ก โดยส่วนมากจะมีช่องแชนแนลไมค์อินพุท 4-8 แชนแนล Mixer บางรุ่นอาจจะมีเอฟเฟค อีคิว มาให้ครบเพื่อทำงานกับคุณภาาพเสียงออกมาได้ดีในระดับหนึ่ง

ไมโครโฟน Microphone ในงานที่ต้องการความคล่องตัวสูงจะนิยมใช้เป็นแบบไร้สาย Wireless Microphone แต่ก็มีข้อด้อยคือ ต้องคอยตรวจเช็คสถานะแบตเตอรี่ตลอดเวลาถ้าเกิดแบตหมดระหว่างการใช้งานก็จะดูไม่ดีนัก และถ้าในระบบเครื่องเสียงใช้ไมค์ลอยมากๆหลายตัวปัญหาหลักคือจะเกิดการรบกวนกันในคลื่นความถี่ได้ง่าย ยิ่งในปัจจุบันทาง กสทช ได้กำหนดย่านคลื่นความถี่ให้ใหม่กับไมค์ลอยที่ใช้ในประเทศไทยเหลือเพียงไม่กี่ย่านเท่านั้น ส่วนใหญ่ผู้ทำระบบเสียงให้เช่าก็จะเตรียมไมค์สายไว้คู่กันอยู่แล้ว

คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ตส์ ปัจจุบันนี้จะเป็นการใช้คอมพ์มาเปิดพวกเสียงเพลง เสียงเอฟเฟค หรือเปิดฉายภาพสื่อต่างๆขึ้นจอกันแล้ว ถ้าเป็นสมัยก่อนจะเป็นเครื่องเล่นซีดี ดีวีดี ใช้คอมพ์จะสะดวกกว่ามากในแง่ของการจัดเตรียมไฟล์มีเดียทุกแบบที่ทางเจ้าของงานเตรียมมาต้องการให้เราเปิด จากการที่ต้องไร้ท์แผ่นซีดีงานเฉพาะทางลงมาเป็นทรัมป์ไดร์ฟ แฟลชไดร์ฟแทน คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคส์จึงเป็นเครื่องทำงานแบบมัลติมีเดียที่ตอบโจทย์ในปัจจุบัน

EQ Equalizer ใช้สำหรับบูสต์หรือคัตเพื่อชดเชยย่านความถี่ในสถานที่นั้นๆ ทำงานด้านเสียงต้องคิดถึงเสมอว่าลักษณะกายภาพสภาพแวดล้อมสภาพความเป็นอะคูสติคของห้องนั้นๆ มีผลต่อคุณภาพเสียงที่จะได้ยินออกมาไม่มีทางที่จะเหมือนกันแน่นอน เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ละเอียดอ่อนอย่างมากซึ่งต้องมาทำความเข้าใจเรื่องย่านความถี่ ฟังและรู้จักแบ่งแยกย่านความถี่ด้วยหูของเราด้วยการฝึกฟังเสียงการจัดการEQ ซึ่งจะมีในบทเรียนต่อๆไปที่จะพูดในแนวทางเชิงลึกและต้องมีการฝึกฟังเสียงจริงๆเมื่อเราทำอีคิวภาคปฏิบัติเพื่อรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง

ถ้าไม่เข้าใจพิ้นฐานเลยในเรื่องEQ บอกได้เลยว่าคุณภาพเสียงที่คุณจะทำมันออกมาจะเข้ารกเข้าพงเข้าป่าแน่ๆ

EQ มาตรฐานในการใช้กับระบบเสียง PA จะใช้ 31 ย่านความถี่ ซึ่งทำงานได้ละเอียดที่สุด

เครื่องขยายเสียง Power Amp ส่งผลต่อความดังในพื้นที่นั้นๆ สเปคของตัวมันไม่ว่ากำลังวัตต์ที่ใช้ขับให้ลำโพงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพได้dB สูงสุด และรองรับโหลดค่าความต้านทานต่ำสุดได้กี่โอห์ม คือตัวแปรสำคัญ ซึ่งก็จะมาทำการศึกษาทำความเข้าใจในเชิงลึกในบทต่อๆไป

ลำโพง Lound Spreaker ในระบบของเครื่องเสียงกลางแจ้งขนาดเล็ก จะเน้นเป็นลำโพงฟูลเล้นจ์ Full Range

มีดอกลำโพงภายในตู้ครบทุกย่านใน 1 ตู้ Low Mid Hi ขนาดตั้ง 8 นิ้ว 10 นิ้ว 12 นิ้ว และ 15 นิ้ว จะใช้คู่เดียวหรือสองคู่แล้วแต่ขนาดของพื้นที่

ลำโพงแบบพาสซีฟ Passive

ลำโพงแบบแอคทีฟ Active มีภาคขยายในตัวเสร็จสรรพ ไม่ต้องใช้แท่นเพาเวอร์แอมป์เลย

บทสรุป

แต่คุณรู้ไหมว่า? องค์ประกอบทั้งหมดของระบบเสียงเมื่อคุณบริหารจัดการให้มันทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ไม่ใช่แค่ทำให้มันดังแล้วจบ ต้องดังและฟังได้ชัดเจนในทุกย่านความถี่ กระจายความดังที่ดีได้อย่างทั่วถึง

Block Diagram ระบบเสียงกลางแจ้งขนาดเล็ก


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *